วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

' . . อะไรทำให้ฟอนต์ไทยอ่านยาก !?


           จากที่ได้ลองอ่านบทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับฟอนต์ ก็ไปเจอกับบทความนึงเข้า . .
เป็นสาระความรู้ดีๆเลยทีเดียว จึงขอนำมาแชร์ให้กับทุกๆคนจ้า ^-------^* . . ด้วยหัวข้อที่ว่า . .
' อะไรทำให้ฟอนต์ไทยอ่านยาก '

อ่านง่าย - ยาก คนละเรื่องกับสวย - ไม่สวย

           - ฟอนต์อ่านง่าย - ยาก เป็นคนละเรื่องกับฟอนต์สวย - ไม่สวย , โดน - ไม่โดน, ดูดี - ไม่ดี
           - ความอ่านง่าย - ยาก เป็นคุณสมบัติของชุดตัวพิมพ์ในการสื่อภาษาพูด , ภาษาเขียน
           - ความสวย ไม่สวย เป็นคุณสมบัติของชุดตัวพิมพ์ในการสื่อภาษาภาพ

ประเภทของฟอนต์ สะท้อนคุณสมบัติในการอ่าน
ฟอนต์มี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือตัวเนื้อและตัวพาดหัว

: ตัวเนื้อ ( text type ) ต้องการ " ความอ่านง่าย " มากเป็นพิเศษ เพื่อให้อ่านได้นานๆ โดยราบรื่น 
  แม้ใช้ในขนาดเล็กๆ
: ตัวพาดหัว ( display type ) ต้องการแสดง " บุคลิก " บางอย่าง อาจเป็นบุคลิกขององค์กร , 
  สินค้าที่โฆษณา , บุคลิกของคนอ่านเป้าหมาย , อารมณ์หรือเรื่องราวที่พาดหัว เป็นต้น 
  ตัวพาดหัวจึงต้องใหญ่พอที่จะ " เห็น " บุคลิกของมันได้
: ตัวเนื้อที่ดีมักดูกลางๆ ใกล้เคียงลายมือเขียนบรรจง , ใกล้เคียงแบบตัวพิมพ์ที่เราคุ้นเคย
  ในตำราเรียน ( ตั้งแต่เล็กจนโต ) , หนังสือพิมพ์ , นิตยสาร , พ็อกเก็ตบุ๊คส์ ฯลฯ
: ตัวพาดหัวที่ดี กินความกว้างกว่า
           - อาจเป็นตัวเนื้อธรรมดาๆ มาขยายใช้ ( ถ้าต้องการบุคลิกอย่างนั้น )
           - หรือเอาตัวเนื้อมาปรับปรุงลดขนาดความสูงสระบน , วรรณยุกต์ , และลดช่องไฟระหว่าง
             ตัวพิมพ์ทั้งแนวนอนและแนวดิ่งลง
           - อาจเป็นตัวที่แปลงจากอักษรโรมันของฝรั่ง ซึ่งดูเรียบง่ายทันสมัย
           - หรือแปลงกายเป็นจีน , ญี่ปุ่น ตามการใช้งาน
           - อาจเป็นตัวกลมมนน่ารัก หรือขรุขระน่าสยอง ฯลฯ
: ตัวเนื้อต้องการความอ่านง่ายสูงกว่า เพราะถูกใช้ในขนาดเล็กๆ
: ตัวพาดหัว
           - มีตั้งแต่อ่านง่าย , ค่อนข้างง่าย , พอได้ , จนถึงยาก
           - แล้วแต่วัตถุประสงค์ของคนออกแบบฟอนต์ และคนเอาไปใช้
           - แล้วแต่ขนาดที่ถูกใช้ ขนาดยิ่งเล็กลง การอ่านยิ่งยากขึ้น

3 สาเหตุฟอนต์อ่านยาก ที่เกิดจากการออกแบบฟอนต์

1. ชุดตัวพิมพ์ส่วนใหญ่ หรือตัวที่ใช้บ่อยๆ ถูกออกแบบรูปอักษร ( glyph ) ไว้ห่างไกล
    ความคุ้นเคยของคนอ่าน ( ตัวลายมือเขียนบรรจง , ตัวเนื้อในชีวิตประจำวัน )
2. ชุดตัวพิมพ์มีรูปอักษรหลายคู่ที่ดูสับสน แยกแยะออกจากกันได้ยาก
            - บางชุดแยกจากกันไม่ออก แม้ใช้ในขนาดใหญ่
            - บางชุดจะปรากฎผลเมื่อถูกนำไปใช้ในขนาดที่เล็กเกินไป
3. ช่องไฟชิดเกินไป
            - หมายถึงช่องไฟทั้งแนวระดับของตัวพิมพ์บนเส้นฐาน และแนวดิ่งของสระบน , 
              วรรณยุกต์กับตัวพยัญชนะ
            - ข้อ 1 - 2 มักเกิดกับตัวพาดหัวเป็นหลัก
            - ข้อ 3 พบได้บ่อยทั้งตัวพาดหัวและตัวเนื้อ

ฟอนต์อ่านยาก... คนทำฟอนต์ไม่ผิด คนใช้ฟอนต์นั่นแหละผิด !

           - ฟอนต์ที่อ่านยาก ก็อย่าไปใช้ให้อ่านมาก
           - ฟอนต์ที่ใช้อ่านเป็นตัวพาดหัวขนาดโต ก็อย่าไปใช้ในขนาดเล็กจนอ่านยาก
           - จะไปโทษคนอ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายว่ารสนิยมไม่ดี ก็ไม่ได้ เพราะการอ่านง่าย - ยาก 
             ไม่เกี่ยวกับเรื่องรสนิยม
           - ต้องโทษคนใช้ฟอนต์ที่ไม่สนใจอ่านงานออกแบบ เอาแต่ดูว่าสวย
           - ต้องโทษคนอนุมัติแบบ อนุมัติเงิน ( ค่าจ้างออกแบบ รวมค่าจ้างผลิตสื่อหรือซื้อสื่อ ) 
             ที่ไม่เคยทดสอบอ่านด้วยตัวเองซักบรรทัด !
           - ถ้าการอ่านยากของฟอนต์ที่เลือกใช้มีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ในการจัดทำสื่อ , 
             เท่ากับว่าพลังงานและพลังเงินที่ใช้ไปทั้งหมดในการค้นคว้า , วิเคราะห์ , สร้างสรรค์
             งานเขียนมาอย่างดีมีอันต้องตกม้าตายตอนจบ !

รักพี่เสียดายน้อง ถึงคราวที่ต้องเลือก

           - ใช้ฟอนต์ที่ดูดีแต่อ่านยาก ก็เหมือนใช้แซลแมนหรือพิธีกรที่บุคลิกดี แต่พูดติดอ่าง !
           - ฟอนต์บางคู่ดูสวยพอๆ กัน ลองพิมพ์มาอ่านด้วยขนาด ( ที่จะใช้งาน ) เท่าๆ กัน
           - ยิ่งให้อ่านหลายคนยิ่งพบว่ามันอ่านยาก - ง่ายต่างกัน
           - เป็นการดีกว่าไหม ที่จะเลือกตัวที่อ่านง่ายกว่ามาใช้งาน ?


... .. . . .. .. . ..  . .. . .


 CR : http://www.dbfonts.biz/fontarticle.php?artid=2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น