วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

' . . อะไรทำให้ฟอนต์ไทยอ่านยาก !?


           จากที่ได้ลองอ่านบทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับฟอนต์ ก็ไปเจอกับบทความนึงเข้า . .
เป็นสาระความรู้ดีๆเลยทีเดียว จึงขอนำมาแชร์ให้กับทุกๆคนจ้า ^-------^* . . ด้วยหัวข้อที่ว่า . .
' อะไรทำให้ฟอนต์ไทยอ่านยาก '

อ่านง่าย - ยาก คนละเรื่องกับสวย - ไม่สวย

           - ฟอนต์อ่านง่าย - ยาก เป็นคนละเรื่องกับฟอนต์สวย - ไม่สวย , โดน - ไม่โดน, ดูดี - ไม่ดี
           - ความอ่านง่าย - ยาก เป็นคุณสมบัติของชุดตัวพิมพ์ในการสื่อภาษาพูด , ภาษาเขียน
           - ความสวย ไม่สวย เป็นคุณสมบัติของชุดตัวพิมพ์ในการสื่อภาษาภาพ

ประเภทของฟอนต์ สะท้อนคุณสมบัติในการอ่าน
ฟอนต์มี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือตัวเนื้อและตัวพาดหัว

: ตัวเนื้อ ( text type ) ต้องการ " ความอ่านง่าย " มากเป็นพิเศษ เพื่อให้อ่านได้นานๆ โดยราบรื่น 
  แม้ใช้ในขนาดเล็กๆ
: ตัวพาดหัว ( display type ) ต้องการแสดง " บุคลิก " บางอย่าง อาจเป็นบุคลิกขององค์กร , 
  สินค้าที่โฆษณา , บุคลิกของคนอ่านเป้าหมาย , อารมณ์หรือเรื่องราวที่พาดหัว เป็นต้น 
  ตัวพาดหัวจึงต้องใหญ่พอที่จะ " เห็น " บุคลิกของมันได้
: ตัวเนื้อที่ดีมักดูกลางๆ ใกล้เคียงลายมือเขียนบรรจง , ใกล้เคียงแบบตัวพิมพ์ที่เราคุ้นเคย
  ในตำราเรียน ( ตั้งแต่เล็กจนโต ) , หนังสือพิมพ์ , นิตยสาร , พ็อกเก็ตบุ๊คส์ ฯลฯ
: ตัวพาดหัวที่ดี กินความกว้างกว่า
           - อาจเป็นตัวเนื้อธรรมดาๆ มาขยายใช้ ( ถ้าต้องการบุคลิกอย่างนั้น )
           - หรือเอาตัวเนื้อมาปรับปรุงลดขนาดความสูงสระบน , วรรณยุกต์ , และลดช่องไฟระหว่าง
             ตัวพิมพ์ทั้งแนวนอนและแนวดิ่งลง
           - อาจเป็นตัวที่แปลงจากอักษรโรมันของฝรั่ง ซึ่งดูเรียบง่ายทันสมัย
           - หรือแปลงกายเป็นจีน , ญี่ปุ่น ตามการใช้งาน
           - อาจเป็นตัวกลมมนน่ารัก หรือขรุขระน่าสยอง ฯลฯ
: ตัวเนื้อต้องการความอ่านง่ายสูงกว่า เพราะถูกใช้ในขนาดเล็กๆ
: ตัวพาดหัว
           - มีตั้งแต่อ่านง่าย , ค่อนข้างง่าย , พอได้ , จนถึงยาก
           - แล้วแต่วัตถุประสงค์ของคนออกแบบฟอนต์ และคนเอาไปใช้
           - แล้วแต่ขนาดที่ถูกใช้ ขนาดยิ่งเล็กลง การอ่านยิ่งยากขึ้น

3 สาเหตุฟอนต์อ่านยาก ที่เกิดจากการออกแบบฟอนต์

1. ชุดตัวพิมพ์ส่วนใหญ่ หรือตัวที่ใช้บ่อยๆ ถูกออกแบบรูปอักษร ( glyph ) ไว้ห่างไกล
    ความคุ้นเคยของคนอ่าน ( ตัวลายมือเขียนบรรจง , ตัวเนื้อในชีวิตประจำวัน )
2. ชุดตัวพิมพ์มีรูปอักษรหลายคู่ที่ดูสับสน แยกแยะออกจากกันได้ยาก
            - บางชุดแยกจากกันไม่ออก แม้ใช้ในขนาดใหญ่
            - บางชุดจะปรากฎผลเมื่อถูกนำไปใช้ในขนาดที่เล็กเกินไป
3. ช่องไฟชิดเกินไป
            - หมายถึงช่องไฟทั้งแนวระดับของตัวพิมพ์บนเส้นฐาน และแนวดิ่งของสระบน , 
              วรรณยุกต์กับตัวพยัญชนะ
            - ข้อ 1 - 2 มักเกิดกับตัวพาดหัวเป็นหลัก
            - ข้อ 3 พบได้บ่อยทั้งตัวพาดหัวและตัวเนื้อ

ฟอนต์อ่านยาก... คนทำฟอนต์ไม่ผิด คนใช้ฟอนต์นั่นแหละผิด !

           - ฟอนต์ที่อ่านยาก ก็อย่าไปใช้ให้อ่านมาก
           - ฟอนต์ที่ใช้อ่านเป็นตัวพาดหัวขนาดโต ก็อย่าไปใช้ในขนาดเล็กจนอ่านยาก
           - จะไปโทษคนอ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมายว่ารสนิยมไม่ดี ก็ไม่ได้ เพราะการอ่านง่าย - ยาก 
             ไม่เกี่ยวกับเรื่องรสนิยม
           - ต้องโทษคนใช้ฟอนต์ที่ไม่สนใจอ่านงานออกแบบ เอาแต่ดูว่าสวย
           - ต้องโทษคนอนุมัติแบบ อนุมัติเงิน ( ค่าจ้างออกแบบ รวมค่าจ้างผลิตสื่อหรือซื้อสื่อ ) 
             ที่ไม่เคยทดสอบอ่านด้วยตัวเองซักบรรทัด !
           - ถ้าการอ่านยากของฟอนต์ที่เลือกใช้มีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ในการจัดทำสื่อ , 
             เท่ากับว่าพลังงานและพลังเงินที่ใช้ไปทั้งหมดในการค้นคว้า , วิเคราะห์ , สร้างสรรค์
             งานเขียนมาอย่างดีมีอันต้องตกม้าตายตอนจบ !

รักพี่เสียดายน้อง ถึงคราวที่ต้องเลือก

           - ใช้ฟอนต์ที่ดูดีแต่อ่านยาก ก็เหมือนใช้แซลแมนหรือพิธีกรที่บุคลิกดี แต่พูดติดอ่าง !
           - ฟอนต์บางคู่ดูสวยพอๆ กัน ลองพิมพ์มาอ่านด้วยขนาด ( ที่จะใช้งาน ) เท่าๆ กัน
           - ยิ่งให้อ่านหลายคนยิ่งพบว่ามันอ่านยาก - ง่ายต่างกัน
           - เป็นการดีกว่าไหม ที่จะเลือกตัวที่อ่านง่ายกว่ามาใช้งาน ?


... .. . . .. .. . ..  . .. . .


 CR : http://www.dbfonts.biz/fontarticle.php?artid=2


[ 201112 ] ... การเรียนที่เข้มข้นขึ้น . . *


           วันนี้เน้นการสั่งงานเป็นพิเศษและแนะนำเว็บที่น่าสนใจเพื่อไปศึกษาเพิ่มเติมเยอะหน่อย
บางทีก็แอบมึนงงกับงาน -[]-* ..แต่ก็พยายามเพื่อที่จะเข้าใจกับมันใ้ห้มากที่สุด . .

- เรื่องการส่งไฟล์งานแปลข่าว ให้ส่งไปในโฟลเดอร์ที่อาจารย์ได้สร้างไว้แล้ว เพื่อที่เวลาเปิดอ่าน
  จะได้ง่ายต่อการค้นหาและสะดวกในการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
- ย้ำเรื่องการทำบันทึกแหล่งเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ โดยใส่ลิ้งค์ของบทความนั้นในไฟล์ที่อาจารย์ส่งให้
  เพื่อจะแชร์ร่วมกับเพื่อนๆในทุกๆวิชาที่อาจารย์สอน
- แนะนำ web : welldonestuff.com ให้ไปลองศึกษาดู
- สร้างโปรไฟล์งานกลุ่ม Gift On The Moon ให้เรียบร้อย

" บ้ "
            สร้างเส้นแกนตัวอักษรสีดำในหน้า A4 บน Layer ( พื้นหลังเป็นเส้นกราฟ )  ส่งในดรอปบล็อก


- - - - - - - - - -


วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

[ 131112 ] ... เริ่มเรียน - ทดสอบก่อนเรียน ! ~

         
           คาบนี้เริ่มต้นด้วยการย้ำเตือนเรื่องการสมัคร Gmail , สมัคร google+ , สร้าง blogspot ,
สมัครเข้าสอบผ่านระบบ E-learning , การทำแบบสอบถาม . .

         แบบสอบถามที่ได้ทำไปนั้น ถ้าทำแล้วอาจารย์จะทำการแชร์ไฟล์ไปให้ยังเมลของเรา
เพื่อยืนยันว่าได้ทำแบบทดสอบครบและถูกต้องแล้ว ด้วยการกรอก Gmail กับ blogspot ของเรา
         ส่วนของ google+ กับ E-learning นั้น ก็ให้ใส่ชื่อจริง - สกุล ให้ถูกต้องเรียบร้อย
ใส่รูปถ่ายของเราเพื่อยืนยันตัวตน . . และในวันนี้ก็ได้ทำการทดสอบก่อนเรียนเป็นครั้งแรก
แน่นอนว่ามันต้องงงๆบ้าง เพราะยังไม่ได้เริ่มเรียน คะแนนก็เลยออกมาแบบกระจิ๊ดริดนิดน้อย =[]=*
         และอาจารย์ได้สอนการทำ Google Drive สำหรับไว้เก็บเกี่ยวข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจ
ให้เราไว้ศึกษา โดยการนำมาอย่างสร้างสรรค์ ให้ออกมาในแบบฉบับของเรา และให้เราเข้าใจง่าย
เริ่มแรกก็เข้าไปที่ Google Drive >> สร้าง >> เอกสาร >> ตั้งค่าหน้ากระดาษ A4 
( ตั้งเป็น A4 แนวตั้ง เสมอ ๆ ) >> แล้วก็จัดการสร้างข้อมูล >> เสร็จแล้วก็แชร์สู่สาธารณะ 
( หรือจะเพิ่มบุคคลที่เราต้องการแชร์ให้แก่เขาคนเดียวก็ทำได้ ) . . . เว็บที่น่าสนใจในการหาข้อมูล
อาจจะลองเข้าไปดูที่เว็บ Typography ก็ได้ . .

         ส่วนการบ้านของวันนี้นั้น . . ให้ออกแบบฟอนต์ชื่อ - นามสกุล ของตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ
ขนาดอักษรสูง 3 cm. หรือถ้าทำในสมุดกราฟก็สูง 3 ช่อง . . ให้เลือกหาแบบดูเป็นแรงบันดาลใจ
แล้วนำมาดัดแปลงเป็นแบบของเราให้สวยงาม . . .


- - - - - - - - - - - - - - -

         
         

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

[ 061112 ] ... กับการเรียนการสอนในคาบแรก *

       
          ถือว่าเป็นวันแรกในการเปิดเทอมของวิชาการออกแบบตัวอักษรเพื่อการพิมพ์เลยก็ว่าได้ 
วันนี้ทั้งอาจารย์และนักศึกษาได้ทำความรู้จักและพูดคุยกันอย่างสบายๆ มีการทำข้อตกลง
ในการเรียนการสอนและแชร์ความรู้ต่างๆก่อนจะเข้าสู่บทเรียนในครั้งต่อไป และได้มีการมอบหมายงานแก่นักศึกษา . . .

- ให้สมัคร G-Mail โดยใช้ชื่อจริง@gmail.com เพื่อจะได้สะดวกในการติดต่อสื่อสาร 
- เข้าร่วม google+ เพื่อแชร์ข้อมูลต่างๆ รับข่าวสาร ติดตามความเคลื่อนไหว และรับข้อมูลใหม่ๆ
  ได้อย่างหลากหลาย ( ทุกระยะเวลา 3 วัน)
- ทำแบบสอบถามก่อนการเรียน 
  ที่ http://www.surveycan.com/survey/6dc2249c-ff10-4b1a-8952-2e56b5c7f786
- ทำ weblog โดยตั้งชื่อลิ้ง ARTD2304-ตามด้วยชื่อจริง อย่างของเราก็จะได้เป็น 
  ARTD2304-saowalak.blogspot.com การสร้างบล็อกนี้ขึ้นมา เพื่อที่เราจะได้เก็บรวบรวมข้อมูล
  ของแต่ละสัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย รายละเอียดการเรียนในแต่ละครั้ง 
  สิ่งที่น่าสนใจ ( อาจจะช่วยเตือนความจำได้อีกวิธีหนึ่ง ! )
- สมัครสอบผ่านระบบ e-learning เพื่อทดสอบความรู้ ที่ http://art.chandra.ac.th/ecourse 

          นอกจากนี้...ยังแบ่งการนำเสนอข่าวหน้าชั้นเรียนก่อนการเรียนการสอนสัปดาห์ละ 3 คน 
เป็นการนำข่าวที่เกี่ยวกับด้านการพิมพ์ เกร็ดความรู้ต่างๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษมาแปล และแชร์ความรู้ใหม่ๆให้แก่เพื่อนๆ . .

          และอีกหนึ่งงานที่สำคัญสำหรับชาวศิลปกรรมในทุกๆปี นั่นคืองาน " Gift On The Moon "

ซึ่งเป็นงานที่นักศึกษาจะออกร้านขายไอเดียสร้างสรรค์ผ่านสินค้าในรูปแบบที่หลากหลาย 
ซึ่งในรายวิชานี้ พวกเราก็ได้รับมอบหมายเช่นกัน ซึ่งสินค้าที่จะนำมาร่วมในงานจะเป็นงานที่เกี่ยวกับ
ตัวอักษรด้วย . .

. . . . . . . . . . . . . . . . .



' ลิ้งค์ที่น่าสนใจเพื่อที่จะไปศึกษาเพิ่มเติม '


http://www.issuu.com/orops/typography

http://typefacesdesign.blogspot.com
http://typography.wordpress.com
http://art.chandra.ac.th/claroline/
http://arit.chandra.ac.th/dokeos
http://www.dafont.com
http://www.issuu.com
http://www.fonts.com
http://www.font.com


ps. สำหรับติดต่อสื่อสารกับอาจารย์

     - facebook : prachid07@gmail.com
     - google+ : prachid2009@gmail.com